วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย


    
ความหมายของสมรรถภาพทางกาย
สมรรถภาพทางกาย (Physical fitness) หมายถึง ภาพความสามารถของร่างกายในการประกอบการงานหรือ 
กิจกรรมทางกาย อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอย่างดีโดยไม่เหนื่อยเร็ว สมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญ
ในการพัฒนาการทางด้านร่างกาย ของมนุษย์ สมรรถภาพทางกายของบุคคลทั่วไปจะเกิดขึ้นได้จาก
การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหยุดออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 การช่วยฟื้นคืนชีพ

 เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติหรือไม่เคลื่อนไหว ต้องสำรวจตามขั้นตอนการสำรวจพื้นฐาน ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการกู้ชีวิต 


     1.ตรวจสอบดูว่าผู้ป่วยหมดสติหรือไม่ โดยการเขย่าตัวแรงๆ พอที่จะปลุกคนหลับให้ตื่น ซึ่งอาจพูดว่าคุณ คุณ.ตื่น ตื่น.เป็นอะไรหรือเปล่า
     2.เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ซึ่งอาจพูดว่า
 “ช่วยด้วย มีคนหมดสติ
     3.จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบบนพื้นที่แข็ง เพื่อความสะดวกในการกดหน้าอกหรือนวดหัวใจและทำให้แรงบีบเลือดออกจากหัวใจได้มาก ในการทำซีพีอาร์นั้น จะต้องให้ผู้ป่วยนอนหงายหลังตรงศีรษะจะต้องไม่สูงกว่าระดับหัวใจ จึงจะทำซีพีอาร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการสำรวจและจัดท่านอนนี้ควรใช้เวลาไม่เกิน10วินาที
การช่วยชีวิตด้วยการกดหน้าอกเพียงอย่างเดียว (Hands only CPR)
อ่านเพิ่มเติม               

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 สัมพันธ์ดี มีไมตรีเลี่ยงความขัดแย้ง



ความสำคัญในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
มีความสำคัญ ดังนี้
1.ทำให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น
2.มีเพื่อนและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
3.มีความรู้สึกที่ดีต่อคนอื่น
4.ได้รับการร่วมมือที่ดีในการติดต่อประสานงานหรือการทำงาน
5.มีศรัทราและมีกำลังใจในการดำรงชีวิต
6.เกิดความสามัคคีและให้ความร่วมมือในส่วนรวมมากขึ้น
7.เกิดการช่วยเหลือในสังคมมากขึ้น


หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 สารเสพติดให้โทษ

          

            ความหมายและการจำแนกประเภทของสารเสพติด
            จากความหมายของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 หรือความหมายตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ สามารถสื่อความหมายของสารเสพติดได้ตรงกันว่าหมายถึง สารหรือยา หรือวัตถุชนิดใดๆ ที่เมื่อเสพเข้าร่างกายจะโดยวิธีใดๆก็แล้วแต่ จะเป็นผลต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพในลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1. ผู้เสพจะเกิดความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง
2. ต้องเพิ่มขนาดหรือปริมาณของสารเสพติดนั้นขึ้นเรื่อยๆ
3. ต้องตกอยู่ใต้อำนาจบังคับอันเกิดจากฤทธิ์ของสารเสพติดนั้นๆ ทำให้หยุดไม่ได้และเกิดอาการขาดยา เมื่อไม่ได้เสพ
4. ผู้เสพจะมีสุขภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้ยา

     ยาทุกตัว ย่อมมีทั้งคุณและโทษควบคู่อยู่ด้วยเสมอ ในการใช้ยาจึงต้องใช้อย่างรู้เท่าทันว่ายาแต่ละตัวออกฤทธิ์อย่างไรใช้ขนาดเท่าไหร่นานเท่าไหร่ และอาจมีโทษอะไรได้บ้าง ถ้าหากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ควรใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ
    อันตรายของยา อันตรายของยาอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. การใช้ยาเกินขนาด (Overdosage toxicity) เช่น
   - กินแอสไพริน  ขนาดมาก ๆ ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) ถึงตายได้
   - กินพาราเซตามอลขนาดมาก ๆ อาจทำลายตับ เกิดภาวะตับวายเฉียบพลันถึงตายได้
   - กินฟีโนบาร์บิทาล  ขนาดมาก ๆ ทำให้กดศูนย์ควบคุมการหายใจ ผู้ป่วยหยุดหายใจถึงตายได้
   - กินยารักษาเบาหวานมากเกิน อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปจนเป็นลม ถึงตายได้
2. ผลข้างเคียงของยา (Side effect)
อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ใส่ใจความปลอดภัย

ภัยในบ้าน
บ้านถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ เพราะที่อยู่อาศัยของคนเรา ปกติแล้วในบ้านน่าจะเป็นที่ปลอดภัยสำหรับคนในบ้าน แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่จะเป็นที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุที่ไม่คาดคิดภายในบ้าน เช่น
1.การพลัดตกหกล้ม อาจเกิดขึ้นภายในบ้านและอาจทำให้บาดเจ็บ จึงควรคำนึงถึงสิ่งเหล้านี้ด้วย
    1.1 ควรล้างห้องน้ำให้สะอาดเสมอไม่ให้ลื่น เพราะอาจทำให้ลื่นล้มในห้องน้ำได้ จนอาจหัวฟาดพื้นได้ จนถึงต้องเข้าโรงพยาบาล
    1.2 การยกของขึ้นหรือลงบันได อย่าละสายตาจากทางเดินหรือยกของหนักจนเกินไป
    1.3 ถ้าพื้นบ้านปูนหรือกระเบื้องน้ำหก จนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จึงควรเช็ดให้แห้งทันที
2. ภัยจากไฟฟ้า  ขณะนี้แทบจะ 100%ที่ทุกครั้งหลังใช้ไฟฟ้าใช้แล้ว จึงอาจเกิดเหตุที่อันตรายมาก เพราะเราไม่สามารถมองเห็นไฟฟ้าได้ และวิธีมีการป้องกันดังนี้
    2.1 ถ้ามือเปียกหรือยืนในที่เปียก ก็ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า
    2.2 ควรติดเต้าเสียบให้สูงกว่าไม่น้อยกว่าพื้นประมาณ 1.20 เมตรเพื่อไม่ให้เด็กเล็กเข้าใกล้ได้
    2.3 ควรใช้ฟิวส์ขนาดพอเหมาะกับวงจรไฟฟ้า
3. ภัยจากแก๊สหุงต้ม
อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สุขภาพชุมชน

     
     ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ  การสร้างเสริมสุขภาพ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนที่ต้องการเป็นคนมีสุขภาพดี การมีสุขภาพที่ดีสมบูรณ์จะเป็นทุนในการประกอบกิจกรรมและภารกิจในชีวิตประจำวัน ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานทางด้านสุขภาพในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มุ่งเน้นระบบสุขภาพเป็นระบบสร้างนำซ่อม
กล่าวคือเดิมสุขภาพเป็นระบบตั้งรับ คือรอให้เจ็บป่วยแล้วจึงนำมาซ่อมหรือนำมารักษา ทำให้ประชาชนคนไทยเจ็บป่วยและตายก่อนวัยอันควร เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก แต่แนวคิดปัจจุบันเป็นระบบเชิงรุก พยายามทำทุกวิถีทางที่จะสร้างสุขภาพให้มีสุขภาพดีให้มากที่สุด ซึ่งทุกคนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและมีการปฏิบัติตนหรือมีพฤติกรรมสุขภาที่ถูกต้องโดยมีการปฏิบัติที่ทำให้มีความสุขที่ดีและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงหรืองดการกระทำที่เสี่ยงหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ การกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการการระมัดระวังเรื่องอาหารการกินที่ปลอดภัย ไม่มีสารพิษปนเปื้อนการส่งเริมสุขภาพจิต การจัดการกับความเครียดด้วยตนเองการลดความเสี่ยงจากการป้องกันและหลีกเลี่ยงสารเสพติดและอบายมุขต่างๆ เป็นต้น หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในเรื่องสุขภาพ ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากปัจจุบันมีการดำเนินการสร้างกระแสในเรื่องการสร้างสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวเกิดความตระหนัก และมีการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้นสิ่งต่างๆ ดังกล่าวล้วนเป็นการสร้างเสริมสุขภาพทั้งสิ้น ถ้าการสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องจะทำให้ไม่เจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่สามารถป้องกันได้ เช่น โรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรคที่เกิดจากวิถีชีวิต ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วนลงพุง เป็นต้น ซึ่งจะเป็นผลให้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เกิดการเจ็บป่วย สามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และลดอัตราการป่วยด้วยโรคที่เกิดจากวิถีชีวิตให้น้อยลงได้